ต้นกระถิน



ข้อมูล
ราละเอียด
ภาพประกรอบ
ชื่อพฤกษาศาสตร์
Acacia  farnesiana  Willd.

วงศ์
MIMOSACEAE

ชื่อพื้นเมือง
คำใต้, ดอกคำใต้, กระถินหอม, กระถิน, ถิน, บุหงาชียม, บุหงาอินโดนีเซีย, บุหงาละสะมะนา, มอนคำ, เกากรึนอง, อะเจ๋าฉิ่ว

ลักษณะทางนิเวศวิทยา
(การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)

กระถินเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา


ชนิดป่าที่พบ
พบได้ทั่วไปทุกภาค

ลักษณทางวัฒนวิทยา
-ลำต้น / ลักษณเนื้อไม้
-ใบ
-ดอก
-ผล
 ต้น    เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม  สูงประมาณ  2-4  เมตร  ลำต้นมีหนาม  ต้นกิ่งก้านจะมีสีคล้ำน้ำตาล
    ใบ    มีสีเขียวแก่  เป็นใบประกอบเรียงตัวลักษณะคล้ายขนนก 2 ชั้น ยาวประมาณ  5-8  เซนติเมตร  มีใบย่อย 10-20  คู่  หูของใบจะมีหนามยาวประมาณ 1-1.5  เซนติเมตร
    ดอก    เป็นช่อมีลักษณะเป็นพุ่มกลม  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร  มีขนสั้นๆคลุมอยู่ มีสีเหลืองเข้มจะมีกลิ่นหอม  กลีบดอกเป็นหลอด  ส่วนปลายจะมี 5 กลีบ  รังไข่ยาวเป็นหลอด  มีเกสรตัวผู้มาก  ปลายก้านเกสรตัวเมียงอ  ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล    มีลักษณะเป็นฝักยาวกลมตรงหรือโค้งเล็กน้อย  ยาวประมาณ 4-10  เซนติเมตร  เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
    เมล็ด    รูปรี กว้าง 0.5 ซม. ยาว 0.7-0.8 ซม.




การขยายพันธุ์
 เมล็ด

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
 ดอกตลอดปี

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
- ฝักนำมาใช้เป็นสีย้อมแบบการใช้น้ำฝาดและทำหมึก
- เปลือก เป็นยาฝาดสมาน แก้ไอ และริดสีดวงทวาร 
- ราก ใช้แก้โรคไขข้ออักเสบ ทำให้อาเจียน ใช้พอกแก้บวม ต้มรวมกับขิงใช้อมบ้วนปากแก้เหงือกอักเสบและมีเลือดออก 
- ดอก ใช้เป็นยาแก้เกร็งและเป็นยาฆ่าแมลง ใบใช้เป็นยาพอกแผล 
- ยาง ที่ได้จากลำต้นมีคุณภาพดีนำมาใช้ทางด้านเภสัชกรรมเป็นสารแขวนลอย 
การปรุงอาหาร: น้ำมันดอกกระถินเทศใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนมหวาน และลูกกวาด แต่ต้องใช้ในปริมาณต่ำ





ความคิดเห็น