ต้นหูกระจง



ข้อมูล
ราละเอียด
ภาพประกรอบ
ชื่อพฤกษาศาสตร์
Terminate ivorensis A. Chev.

วงศ์
COMBRETACEAE

ชื่อพื้นเมือง
หูกวางแคระม,แผ่บารมี

ลักษณะทางนิเวศวิทยา
(การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
 ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม
8-10 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มแผ่เป็นชั้นๆ หนาทึบ แตกกิ่งตั้งฉากกับลำต้น เมื่อต้นโตเต็มที่ปลายกิ่งจะลู่ลง เปลือกต้นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่อง ตามแนวยาว สีน้ำตาลอมเหลืองและมีรอยด่างขาวทั่วทั้งลำต้น

ชนิดป่าที่พบ
มีถิ่นกำเนิดในป่าแอฟริกาตะวันตก แถบเส้นศูนย์สูตร ตั้งแต่ประเทศกีนี ไปจนถึงประเทศแคเมอรูน

ลักษณทางวัฒนวิทยา
-ลำต้น / ลักษณเนื้อไม้
-ใบ
-ดอก
-ผล
ลำต้น เปลือกต้นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่อง ตามแนวยาว สีน้ำตาลอมเหลืองและมีรอยด่างขาวทั่วทั้งลำต้น
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 1 -1.5ซม. ยาว 1.5-3 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบแคบ เว้า และมีต่อม 1 คู่ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาและเหนียว สีเขียวเรียบเป็นมัน ใบอ่อนสีน้ำตาลอมเขียว ก้านใบยาวประมาณ 0.4 ซม.
ดอก สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะเป็นแท่ง โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกสมบูรณ์เพศอยู่บริเวณโคนช่อ เกสรเพศผู้ 10 อัน
ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปไข่หรือรูปรีป้อมและแบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. สีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียวมีเนื้อ และชั้นหุ้มเมล็ดค่อนข้างแข็งและเหนียว เมล็ดรูปรี สีน้ำตาล ออกดอกติดผลเกือบตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง



การขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ด

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
ทรงพุ่มสวย พุ่มใบละเอียดเป็นชั้นๆ สวยงาม ปลูกประดับสวน อาคาร ให้ร่มเงาริมถนนลานจอดรถ ปลูกในพื้นที่กว้าง เช่น สวนสาธารณะ เนื้อไม้ไข้ก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์





ความคิดเห็น