ต้นมะค่าแต้

ต้นมะค่าแต้

ข้อมูล
ราละเอียด
ภาพประกรอบ
ชื่อพฤกษาศาสตร์
Sindora siamensis Teijsm.ex Miq.

วงศ์
CAESALPINIACEAE

ชื่อพื้นเมือง
แต้ มะค่าหนาม มะค่าหยุม

ลักษณะทางนิเวศวิทยา
(การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
ไม้ต้นผลัดใบ สูง 10-15 ม. ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยมี 3-4 คู่ แกนช่อใบยาว 2-4 ซม. แผ่นใบหนา รูปไข่กว้าง ขนาดกว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-15 ซม. ดอกสีเหลืองแกมแดง ออกเป็นช่อ ยาว 10-25 ซม. ทุกส่วนมีขนสีน้ำตาล ก้านดอกย่อย ยาว 0.2-0.4 ซม. กลีบรองดอกรูปไข่กว้าง ปลายกลีบมีหนามขนาดเล็ก กลีบดอกยาว 7 มม. เกสรผู้ 10 อัน มี 2 อันใหญ่กว่าอันอื่น ผลเป็นฝักเดี่ยว สีดำ มีหนามแหลมที่ผิวทั่วไป รูปไข่กว้าง โคนเบี้ยวและมักมีติ่งแหลม ขนาดผ่าศูนย์กลาง 4.5-10 ซม. ภายในมี 1-3 เมล็ด



ชนิดป่าที่พบ
จากภูมิภาคอินโดจีนถึงมาเลเซีย ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และป่าชายหาดที่ระดับใกล้น้ำทะล จนถึงระดับ 400 ม.

ลักษณทางวัฒนวิทยา
-ลำต้น / ลักษณเนื้อไม้
-ใบ
-ดอก
-ผล
ไม้ต้น  ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 10 - 25 เมตร 
เปลือก  เรียบสีเทาคล้ำกิ่งอ่อนมีขนคลุมบาง ๆ เรือนยอดแผ่ทรงเจดีย์ต่ำ 
ใบ  ประกอบรูปขนนก เป็นช่อติดเรียงสลับ ใบย่อย เรียงตรงข้ามกัน 3 - 4 คู่ แผ่นใบย่อยรูปรี ถึงรูปบรรทัดแกมรูปรี  กว้าง 3 - 8 เซนติเมตร ยาว 6 - 15 เซนติเมตร ปลายใบกลมหยักเว้าตื้น ๆ ตรงกลางเล็กน้อย และโคนใบแหลมหรือมน ผิวใบด้านล่าง มีขนสั้น 
ดอก  ดอกเล็กสีเหลือง ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง 
ผล  เป็นรูปโล่ ขนาด 4 - 9 เซนติเมตร มีจงอยแหลมที่ปลาย ผิวฝักมีหนามแหลมแข็ง แตกเมื่อแห้งแต่ละฝักมีเมล็ด 1 - 3 เมล็ด



การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภคม

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
เนื้อไม้แข็ง ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ดี แต่ขนาดจะไม่ใหญ่มาก





ความคิดเห็น