ต้นเสลา

                                                                         ต้นเสลา


ข้อมูล
ราละเอียด
ภาพประกรอบ
ชื่อพฤกษาศาสตร์
 Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.

วงศ์
  LYTHRACEAE

ชื่อพื้นเมือง
 ตะเกรียบ ตะแบกขน เสลาใบใหญ่ อินทชิต

ลักษณะทางนิเวศวิทยา
(การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
 เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงตั้งแต่ 10 เมตร ถ้าต้นสมบูรณ์ ดินดี น้ำถึง สูงได้ถึง 20เมตร ถึงแม้จะเป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มกลม หนาทึบแต่ก็จะมีช่วงผลัดใบได้เหมือนกัน ลำต้น ถ้าอายุมากๆ จะแตกเป็นริ้วๆ เป็นทางยาวทั้งต้น แต่ถ้าอายุยังน้อยก็จะไม่เห็นลายแตกพวกนี้

ชนิดป่าที่พบ
 ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบและป่าชายหาด

ลักษณทางวัฒนวิทยา
-ลำต้น / ลักษณเนื้อไม้
-ใบ
-ดอก
-ผล

ลำต้น ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-15 ม. เรือนยอดกลม ใบดกและกิ่งโน้มลงรอบๆ ทรงพุ่ม เปลือกลำต้นสีดำแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาวลำต้น 

ใบ ใบเรียงตรงข้าม ใบเดี่ยว ใบรูปไข่ รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ใบกว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-18 ซม. ก้านใบยาว 5-8 มม.โคนใบมน ปลายใบแหลมหรือมีติ่งเล็กๆ ยาว 1-2 มม. ขอบใบเรียบ ผิวใบมีขนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน ก้านใบและใบอ่อนมีขนปกคลุมหนาแน่น 
 ดอก ดอกช่อ cymose เกิดที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง มีช่อดอกย่อยจำนวนมาก ช่อละ 3 ดอก โคนก้านช่อดอกย่อยมีใบประดับ 1 อัน รูปคล้ายใบ ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงมี 6-7 กลีบ สีเขียวหรือแกมน้ำตาล กลีบดอกมี 6-7 กลีบ สีม่วง เมื่อจะร่วงเป็นสีขาว กลีบดอกแยกกัน รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม กลีบเรียงตัวบนขอบถ้วยสลับกับกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้จำนวนมาก perigynous ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศเมีย 1 อัน
 ผล ผลแห้งแบบแคปซูล รูปไข่ปลายแหลมผิวมีขนละเอียด กว้าง 8-12 มม . ยาว 12-15 มม . เมล็ดจำนวนมาก มีปีกบางๆรูปโค้ง คล้ายเคียว มีสีน้ำตาล





การขยายพันธุ์

 เพาะเมล็ด


ช่วงเวลาออกดอก-ผล
มีนาคม-เมษายน

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
 ใช้ทำเครื่องแกะสลัก ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ ผลใช้ทำไม้ประดับแห้ง ใบใช้บดกับกำยานทาแก้ผดผื่นคัน






ความคิดเห็น