ต้นมะขาม
ข้อมูล
|
ราละเอียด
|
ภาพประกรอบ
|
ชื่อพฤกษาศาสตร์
|
Tamarindus indica L.
|
|
วงศ์
|
FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
|
|
ชื่อพื้นเมือง
|
มะขาม,บักขาม
|
|
ลักษณะทางนิเวศวิทยา
(การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
|
มะขาม เป็นไม้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขตร้อนของเอเชียและประเทศแถบลาตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโก
|
|
ชนิดป่าที่พบ
|
มะขาม เป็นไม้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขตร้อนของเอเชียและประเทศแถบลาตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโก
|
|
ลักษณทางวัฒนวิทยา
-ลำต้น
/ ลักษณเนื้อไม้
-ใบ
-ดอก
-ผล
|
ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น
ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้น และแข็งแรงมาก
ลำต้นมีความสูงประมาณ 60
ฟุต
เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ
ดอก ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกสมบูรณ์ืเพศ กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบขนาดไม่เท่ากัน เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0-1.5 ซม. เกสรตัวผู้ 10 อัน ที่สมบูรณ์มี 3 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ผล ฝักยาวหรือโค้ง กว้าง 1.0-2.5 ซม. ยาว 5-15 ซม. เปลือกผลหนา แ็ข็ง เปราะ สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทา ผลสดเมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีน้ำตาลเนื้อฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว บางพันธุ์อาจหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว เมล็ดกลมรีมีสีดำ มี 3-12 เมล็ด |
|
การขยายพันธุ์
|
เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดด
เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่ง
|
|
ช่วงเวลาออกดอก-ผล
|
เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน
|
|
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
|
เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมาก
เพราะเป็นไม้ทีเหนียวทนใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ
แก้โรคบิดขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด
แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบและใช้อบไอน้ำได้เป็นต้น
ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝักนำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไป
หรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย
แก้ไอขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำ หรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่า
และเกลือพอประมาณรับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง
หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนหรือฝี เมล็ดแก่
นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกระเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30
เม็ด
นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิิไส้เดือนในท้องเด็กได้
หรือใช้เปลือกนอกที่กระเทาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง
และแก้อาเจียนได้ดี
ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก
มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี
เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัดเรียกว่า "มะขามเปียก"
ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น
ทำให้ออกฤทธิ์ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า
รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น